เหตุผลที่ไม่ควรรักษาสิวด้วยตนเอง

เมื่อเกิดอาการผิดปกติขึ้นบนใบหน้า โดยเฉพาะรอยโรคซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ด นูน หรือแดง ทำให้ผู้มีอาการดังกล่าวเข้าใจว่าตนนั้นเป็นสิว (Acne) หากแต่อาการเหล่านั้นอาจเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่น เช่น ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis) ผื่นแพ้ต่อมไขมัน (Seborrheic Dermatitis) ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นต้น ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจส่งผลให้อาหารรุนแรงขึ้น หรือแย่ลง

ดังนั้น ผู้ที่มีอาการทางผิวหนังดังกล่าวจึงควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการวินิจฉัย (โรค/สาเหตุ/ประเภทของสิว (รายที่เป็นสิว)) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การจ่ายยา และกำหนดแนวทางรักษาได้อย่างถูกต้อง

ทำความรู้จักสิว การวินิจฉัย และการรักษา

บทความวิชาการ “หน้าใส ไร้สิว” โดย ผศ.ลีลาวดี เตชาเสถียร, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สิวคืออะไร ทำไมมักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ และลำตัวส่วนบน

สิว (Acne) คือ การอักเสบของของหน่วยรูขนและต่อมไขมัน โดยมักเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ และลำตัวส่วนบน เนื่องจากมีต่อมไขมันขนาดใหญ่อยู่หนาแน่น

สาเหตุและปัจจัยกระตุ้นของการเกิดสิว

สิว (Acne) เกิดจากหลายสาเหตุ: ภาวะฮอร์โมนในวัยรุ่น ความมันบนใบหน้า สารเคมี ผลิตภัณฑ์ที่ใช้บริเวณใบหน้า ผลิตภัณฑ์นม หรือผลิตภัณฑ์ใส่บริเวณศีรษะบางชนิด การจับและสัมผัสบริเวณใบหน้าบ่อยๆ การขัดหน้า พอกหน้า ฟอกหน้า แกะ เกา หรือการทาผลิตภัณฑ์ที่วางขายบนสื่อออนไลน์

หัวข้อ: ชนิดของสิว, ความรุนแรงของสิว, และการรักษา ปรากฎตามแผนภาพแสดงและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์



บทนำ, นิยาม, ลักษณะทางคลินิกของสิว

ลักษณะทางคลินิกของสิว (ต่อ), การตรวจทางห้องปฏิบัติการ, การวินิจฉัยแยกโรค

การรักษาสิว, การพยากรณ์โรค

การติดตามผล, สรุป, เอกสารอ้างอิง

ต้นทางข้อมูล: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/68185

หน้านี้ไม่แสดงโฆษณา ตามใบอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. / Morkeng.com / 22 สิงหาคม 2564 / Discliamer ขอสงวนความรับผิดชอบ หากเกิดจากความผิดพลาดของระบบอัตโนมัติ

Creative Commons License