อาหารกับอาการซึมเศร้า

อาหารสามารถต่อสู้กับอาการซึมเศร้าได้จริงหรือ

อาหารสามารถต่อสู้กับอาการซึมเศร้าได้จริงหรือ

มีหลักฐานทางระบาดวิทยาที่บ่งชี้ชัดเจนว่า อาหารมีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ขณะเดียวกันมีรายงานการศึกษาทางคลินิกชี้ชัดว่า อาหารมีความสำคัญต่อการเจ็บป่วยทางจิตและสุขภาพจิต การมีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่คงความหลากหลาย อาทิ อาหารแบบวิถีเอเชีย ที่มีข้าวเป็นอาหารหลัก ผัก ปลา ผลไม้ เต้าหู้ เครื่องเทศต่างๆ หรือวิถีตะวันตกแบบเมดิเตเรเนียนที่เน้นไปที่ผัก ผลไม้ เนื้อไม่ติดมัน ปลา น้ำมันมะกอก ฯลฯ มีผลสามารถลดอาการของโรคซึมเศร้าได้ ในขณะที่การมีพฤติกรรมรับประทานอาหารแปรรูป อาหารปรุงแต่งต่างๆ เช่น บะหมี่ ขนมปัง เนื้อสัตว์แปรรูป เช่นเดียวกับผู้ที่เลือกอดอาหารบางประเภทเพื่อควบคุมน้ำหนัก กลับเพิ่มความเสี่ยงภาวะซึมเศร้ามากขึ้น

การศึกษาทางคลินิกชี้ชัดอาหารแบบเมดิเตอเรเนียนลดอาการซึมเศร้าได้

จากรายงานการศึกษาของ Heather Francis, Ph.D. และคณะ จากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย Macquarie ในซิดนีย์ ออสเตรเลีย กล่าวว่า การศึกษาหลายอันก่อนหน้า มักจะพบเป็นการศึกษาถึงความเชื่อมโยง แต่การวิจัยใหม่นี้เป็นการศึกษาทางคลินิกทีมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

คำอธิบายเพิ่มเติม การวิจัยทางคลินิก (Clinical trials) เป็นกระบวนการทดสอบ (ยา อาหาร ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์อื่นๆ ฯลฯ) ในคน ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ถือว่าเป็นการวิจัยที่มีความสำคัญ เพราะหากไม่มีการวิจัยทางคลินิกโดยเฉพาะในคน แนวทางการรักษาใหม่ๆคงจะไม่เกิดขึ้น

โดยผลการศึกษาได้เผยแพร่ในวารสาร PLOS One เมื่อต้นตุลาคม 2019 นี้เอง โดยเป็นการศึกษาเชิงทดลอง ติดตามพฤติกรรมบริโภคอาหารในผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าที่มีอาการปานกลางถึงสูงอย่างใกล้ชิด กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกอยู่ในวัยหนุ่มสาวอายุระหว่าง 17-35 ปี ใช้เวลาศึกษา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 5/8/2017-6/11/2018 ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกว่า 363 ราย (สุ่มเลือก 101 ราย) แบ่งการศึกษาเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก จะได้รับคำแนะนำเชิงป้องกันส่งเสริมการรักษาอย่างใกล้ชิดเป็นระยะต่อเนื่องตลอดการทดลอง ในการในการบริโภคอาหาร (diet group) แบบเมดิเตเรเนียน อาทิ ผัก (5 ครั้ง/สัปดาห์) ผลไม้ (2-3 ครั้ง/สัปดาห์) โปรตีนจากเนื้อไม่ติดมัน ไข่เต้าหู้ ปลา (3 ครั้ง/สัปดาห์) ถั่วและเมล็ดพืช เครื่องเทศ น้ำมันมะกอก อบเชย ขมิ้น เป็นต้น ซึ่งอาหารแบบเมดิเตอเรเนียน ได้รับการยอมรับในเชิงวิชาการจากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารว่าสามารถลดอาการซึมเศร้าได้ ขณะที่อีกกลุ่มบริโภคอาหารตามปกติชีวิตประจำวัน (Habitual diet control group) ใช้เวลาสามเดือนติดตามประเมินผล

ทั้งนี้ในรายละเอียดเพิ่มเติม จะเริ่มประเมินผลในสัปดาห์ที่ 3 ซึ่งเป็่นช่วงระยะเวลาทีี่ได้รับการยืนยันทางวิชาการว่าการรักษาด้วยยาต้านเศร้าจะมีผลทางการรักษาเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะผลต่อกระบวนการลดภาวะอักเสบ (Inflamation reduction) ในร่างกายที่มีรายงานการศึกษาที่ผู้วิจัยอ้างถึง โดยยืนยันว่าการเจ็บป่วยทางจิตเวชโดยเฉพาะปัญหาโรคซึมเศร้า ไม่เพียงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำงานผิดปกติของสารเคมีในสมอง แต่ยังเกี่ยวข้องกับระบบการอักเสบ (inflammatory system) ของร่างกาย ทั้งนี้ผลการรักษาจะได้ผลเต็มที่ในช่วง 2-4 สัปดาห์

ประเมินภาวะซึมเศร้าจากแบบประเมินมาตรฐาน (หลายอัน เช่น แบบประเมินซึมเศร้า CESD-R แบบประเมินภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล (Depression Anxiety and Stress), DASS-21-D, current mood (Profile of Mood States), self-efficacy (New General Self-Efficacy Scale) and memory (Hopkins Verbal Learning Test) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบเมดิเตเรเนียน มีอาการของโรคซึมเศร้าลดลง โดยมีค่าคะแนนจากจากแบบประเมินที่แสดงถึงอาการทางคลินิกลดลงอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ดร.ฟรานซิส ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “อาการซึมเศร้าเป็นความผิดปกติของร่างกายไม่ใช่แค่ความผิดปกติของสมองแต่เพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ร่างกายจะมีการตอบสนองต่อภาวะการอักเสบเรื้อรัง ขณะเดียวกันอาหารที่ไม่ดีสามารถเพิ่มการอักเสบในระบบเช่นกัน สิ่งนี้น่าจะมีเหตุผลสองประการ” เธอกล่าว “อย่างแรกอาหารแปรรูปสูง ประเภทของหวาน อาหารฟาสต์ฟู้ด และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล สามารถเพิ่มกระบวนการอักเสบของร่างกาย และสอง ถ้าเราไม่บริโภคอาหารที่มีสารอาหารหนาแน่นเพียงพอ อาทิ ผลไม้ ผัก ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือปลา สิ่งนี้อาจทำให้เกิดความไม่เพียงพอในสารอาหารและไฟเบอร์ ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการอักเสบในร่างกาย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ร่างกายต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมาน อันเป็นผลจากการเจ็บป่วยที่ร่างกายต้องต่อสู้กับกระบวนการอักเสบเรื้อรัง ที่มาพร้อมกับภาวะซึมเศร้าให้มีมากขึ้น”

อาหารวิถีเอเชีย สามารถลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

ในขณะที่เมื่อเร็วๆนี้ การศึกษาของ Park SJ, Kim MS, Lee HJ. และคณะ จากมหาวิทยาลัยเกชอนในเกาหลี เผยแพร่ในฐานข้อมูล PubMed เมื่อปี 2019 นี้เอง โดยเป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล 3 ปี ในกลุ่มวัยทำงานของคนเกาหลี,ญี่ปุ่น จำนวนกว่า 3,388 ราย เปรียบเทียบกัน โดยกลุ่มตัวอย่างแรก มีรูปแบบพฤติกรรมรับประทานอาหารธรรมชาติวิถีเอเชีย ที่เน้นไปที่ประเภท ผัก เห็ด น้ำเต้าหู้ สาหร่ายทะเล ปลา หอย (Shellfish) ข้าว ชาเขียว เป็นต้น ขณะที่อีกกลุ่มเน้นรับประทาน เนื้อสัตว์ บะหมี่ ขนมปัง กาแฟ ไม่ทานข้าวเลย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแรกที่เน้นอาหารหลากหลายจากธรรมชาติ มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าลดลง ในขณะที่กลุ่มที่สองที่เน้นรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ ขนมปัง บะหมี่ และไม่ทานข้าว กลับมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น

การอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักในวัยกลางคน เพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้า

จากรายงานการศึกษาของ Tasnime N. Akbaraly และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยได้เผยแพร่ในวารสาร THE BRITISH JOURNAL OF PSYCHIATRY เมื่อปี 2009 พบว่า การอดอาหารแบบมีรูปแบบชัดเจนเพื่อวัตถุประสงค์บางประการ เพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้ โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างวัยระหว่าง 35-55 ปี จำนวน 3,486 ราย คิดเป็นเพศหญิงกว่าร้อยละ 26.2 อายุเฉลี่ย 55.6 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารบางประเทภอย่างเข้มงวด เพื่อจุดประสงค์บางประการ นั่นค่อ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เน้นผักผลิตภัณฑ์แปลรูปโปรตีนจากพืช และผลไม้ เท่านั้น เป็นต้น เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เลือกรับประทานอาหารประเภทใดเป็นพิเศษ โดยมีพฤติกรรมรับประทานแบบหลากหลาย ทั้งผัก โปรตีนจากสัตว์ คาร์โบไฮเดรตแบบปกติ หลังจากระยะเวลาผ่านไป 5 ปี ผู้วิจัยได้ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคซึมเศร้า (CES–D depression) พบว่า กลุ่มที่เลือกรับประทานอาหารแบบเข้มงวดที่เน้นเฉพาะผักและผลิตภัณฑ์แปรรูปโปรตีนจากพืช ผลไม้ มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้าอย่างชัดเจน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0222768

2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/31724417

3. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2801825/

4. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/31388408

5. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18073775/

6. Woolley, K., Fishbach, A., & Wang, R. M. (2019). Food restriction and the experience of social isolation. Journal of personality and social psychology.

บทความต้นฉบับ

dmh.go.th

รายชื่อจิตแพทย์ รักษาโรคซึมเศร้า

จิตแพทย์ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านจิตเวชศาสตร์และได้รับการรับรองให้ทำการรักษาความผิดปกติทางจิต จิตแพทย์ทุกคนถูกฝึกให้วินิจฉัยโรคและจิตบำบัด เนื่องจากจิตแพทย์ต้องเป็นแพทย์อยู่เองด้วย และสามารถวินิจฉัยโรคผู้ป่วยได้ 

โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน

 


รายชื่อจิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จากชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยข้อมูล ดังต่อไปนี้

 

***ทางลัดตรวจสอบรายชื่อจิตแพทย์ในจังหวัดของตน หรือบริเวณใกล้เคียง

  1. เข้าสู่หน้าแรกของเว็บไซต์ Morkeng.com
  2. พิมพ์คำค้นหา “จิตแพทย์” หรือ “โรคซึมเศร้า”
  3. ระบุจังหวัด
  4. กดปุ่ม “ค้นหา”

 

หมายเหตุ

  1. หากไม่พบรายชื่อจิตแพทย์ในจังหวัดของตน ท่านสามารถ กดปุ่ม “กรองผลลัพธ์”
  2. จากนั้นกดปุ่ม “ใกล้ฉัน” เพื่อค้นหาจิตแพทย์ในจังหวัดใกล้เคียง

 

 

จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

  • 1.พญ.อุมาพร ตรังคสมบัติ
    2.พญ.อลิสา วัชรสินธุ
    3.พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ
    4.นพ.ณัทธร ทิพยรัตน์เสถียร
    5.พญ.วัลย์ฐิภา วิทยาศัย
    6.พญ.เบญจพร ตันตสูติ

โรงพยาบาลศิริราช

  • 1.นพ.พนม เกตุมาน
  • 2.พญ.ฐิตวี แก้วพรสวรรค์
  • 3.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
  • 4.นพ.วิฐารณ บุญสิทธิ
  • 5.พญ.สุพร อภินันทเวช
  • 6.พญ.จริยา ทะรักษา
  • 7.พญ.ฑิฆัมพร ริ้วธงชัย
  • 8.พญ.สิรินัดดา ปัญญาภาส
  • 9.พญ.ศศิธร จันทรทิน
  • 10.พญ.ศันสนีย์ เรืองสอน
  • 11.พญ.นภัทร สิทธาโนมัย
  • 12.นพ.วัลลภ อัจสริยะสิงห์
  • 13.พญ.ธิดารัตน์ ปุรณะชัยคีรี

 

โรงพยาบาลรามาธิบดี

  • 1.นพ.ปราโมทย์ สุคนิชย์
  • 2.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
  • 3.พญ.สุวรรณี พุทธิศรี
  • 4.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์
  • 5.พญ.พลิศรา อังศุสิงห์
  • 6.พญ.นิดา ลิ้มสุวรรณ
  • 7.นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์
  • 8.วินิทรา แก้วพิลา

ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

  • 1.พญ.ศุภรา เชาว์ปรีชา
  • 2.พญ.ติรยา เลิศหัตถศิลป์
  • 3.นพ.ดร.ไพรัตน์ ฐาปนาเดโชพล
  • 4.พญ.ปิยาภัสร์ จิตภิรมย์
  • 5.พญ.ปรานี ปวีณชนา
  • 6.พญ.อัญชลิตา รัตนจารุรักษ์

 

โรงพยาบาลภูมิพล

  • 1.พญ.วีร์นะ ตระกูลฮุน
  • 2.พญ.สุภาพร วิจัยธรรม
  • 3.พญ.จักจิตต์กอร์ สัจจเดว์

 

โรงพยาบาลราชานุกูล เขตดินแดง

  • 1.นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
  • 2.พญ.ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์
  • 3.พญ.เลิศศิริ ราชเดิม
  • 4.พญ.จันทร์อาภา สุขทัพภ์
  • 5.พญ.อาภาภรณ์ พึ่งยอด
  • 6.พญ.วรวรรณ จงสง่าวิทยาเลิศ
  • 7.พญ.ศุภรัตน์ เอกอัศวิน

 

สถาบันสุขภาพจิตสมเด็จเจ้าพระยา(คลินิกวัยรุ่น)

  • 1.พญ.เบญจพร ปัญญายง

 

โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

  • 1.นพ.พิสาส์น เตชะเกษม
  • 2.พญ.วรุณา กลกิจโกวินท์
  • 3.นพ.ชัยพร วิศิษฎ์พงศ์อารีย์

 

โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ

  • 1.พญ.นวพร หิรัญวิวัฒน์กุล
  • 2.พญ.โสรยา ชัชวาลานนท์

 

โรงพยาบาลศรีธัญญา

  • 1. พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง
  • 2.พญ.วรรณพักต์ วิวัฒนวงศา
  • 3.พญ.อังคณา อัญญมณี
  • 4.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์
  • 5.พญ.จอมสุรางค์ โพธิสัตย์

 

สถาบันสุขภาพจิตเด็กราชนครินทร์ (ตรงข้าม รพ.รามา)

  • 1. พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ
  • 2.พญ.โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ
  • 3.นพ.ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล
  • 4. พญ.ทิพาวรรณ บูรณสิน

 

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก)

  • 1.พญ.รัตโนทัย พลับรู้การ
  • 2.พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์
  • 3.พญ.ปราณี เมืองน้อย
  • 4.พญ.ศิริรัตน์ อุฬารตินนท์
  • 5.พญ.ถิรพร ตั้งจิตติพร

 

โรงพยาบาลตำรวจ

  • 1.พญ.อัญชุลี ธีรวงศ์ไพศาล
  • 2.พญ.สิรินยา เพชรชูพงศ์

 

โรงพยาบาลทหารผ่านศึก

  • 1.พญ.สุพัตรา หงส์ยั่งยืน

 

โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

  • 1.พญ.วิวรรณ สุจริต

 

โรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

โรงพยาบาลกรุงเทพ

  • 1.นพ.กมล แสงทองศรีกมล
  • 2.พญ.ขวัญเรือน วิสุทธิศิริ
  • 3.นพ ชลภัฏ จาตุรงคกุล

 

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • 1.พญ.สุภาพร ปิตวิวัฒนานนท์

 

โรงพยาบาลบางนา

  • 1.พญ.เมทินี เทิมแพงพันธ์

 

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

  • 1.นพ.กวี สุวรรณกิจ

 

โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์

  • พญ.พัชรี ยุทธพัฒนพร
  • นพ.สมชาติ สุทธิกาญจน์.
  • พญ.อัจฉรา ตราชู

โรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิท

  • พญ.ปุณณดา สุไลมาน

โรงพยาบาลมนารมย์

  • พญ.เพียงทิพย์ หังสพฤกษ์
  • พญ.กมลชนก เหล่าชัยศรี
  • นพ.ชาตรี วิทูรชาติ

โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

  • พญ.จุฑามาศ อัตชู
  • พญ.เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม

 

โรงพยาบาลธนบุรี

  • พญ.อมรรัตน์ ภัทรวรธรรม

โรงพยาบาลหัวเฉียว

  • พญ.ศันสนีย์ เรืองสอน

โรงพยาบาลพญาไท 1

  • พญ.สุนิดา โสภณนรินทร์

โรงพยาบาลบางปะกอก1 และ 9

  • นพ ชลภัฏ จาตุรงคกุล

โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน

  • พญ.โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ
  • นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

โรงพยาบาลเสรีรักษ์

  • พญ.โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ

โรงพยาบาลนครธน

  • พญ.กุลธิดา เต็มชวาลา

คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา

  • พญ.เพียงทิพย์ หังสพฤกษ์ (ทุกอังคารและศุกร์)

 

ปริมณฑลและภาคกลาง

จังหวักนนทบุรี

 

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

  • 1.พญ.สุธีรา ริ้วเหลือง

 

โรงพยาบาลชลประทาน

  • 1.พญ.นริศรา ติยะพรรณ

 

มีรักคลินิค (สนามบินน้ำ) 

โทร 084-733-0444, 02-589-4582.

  • 1.นพ.จอม ชุมช่วย
  • 2.พญ.นัทธ์ชนัน จรัสจรุงเกียรติ

รักษ์เรียนคลินิค(สะพานพระนั่งเกล้า)

โทร 089-529-7744, 083-433-400, 086-978-9222

  • 1.นพ.ชาญวิทย์ พรนพดล
  • 2.พญ.นัทธ์ชนัน จรัสจรุงเกียรติ 

 

จังหวัดปทุมธานี

สถาบันบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สถาบันธัญญารักษ์)

  • พญ.ภัทราภรณ์ กินร

 

จังหวัดนครปฐม

โรงพยาบาลนครปฐม

  • พญ.พรรณนภา อุดมโชติพฤทธิ์

 

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

โทรติดต่อ 0-2441-6100 ต่อ

นัดแพทย์ 58212

คลินิกผู้ป่วยนอก 58203-58204

  • 1.พญ.สลักจิต ธีระนุกูล
  • 2.สมชาติ สุทธิกาญจน์ (ทุกวันพุธ)

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล

  • 1.พญ.หัทยา ดำรงผล
  • 2.พ.ญ.นัทธ์ชนัน จรัสจรุงเกียรติ

 

โรงพยาบาลตุลาการเฉลิมพระเกียรติ ต. คลองโยง อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม

  • นพ.สมชาติ สุทธิกาญจน์ทุกวันพุธ, ศุกร์ (9.00 – 15.00 น.)

 

จังหวัดนครนายก

-ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ (มศว.องครักษ์)

  • 1.พญ.ศันสนีย์ นิซู
  • 2.นพ.ทรงภูมิ เบญญากร
  • 3.นพ.รัตนภูมิ วัฒนปัญญาสกุล

จังหวัดสมุทรสงคราม

โรงพยาบาลนภาลัย บางคนธี

  • 1.นพ.สมชาติ สุทธิกาญจน์
  • ออกตรวจอังคารที่ 1 และ 3 ของเดือน
  • เวลา 8.30 -16.00 น.

จังหวัดสมุทรสาคร

โรงพยาบาลสมุทรสาคร

  • 1.นพ.สมชาติ สุทธิกาญจน์
  • ออกตรวจทุกวันจันทร์ที่ 1 , 3 เวลา 8.30 – 16.00 น. และ
  • ทุกวันอังคารที่ 2 , 4 เวลา 8.30 – 16.00 น.

 

โรงพยาบาลบ้านแพ้ว

  • นพ.ชัยวัฒน์ พานทอง

 

จังหวัดสมุทรปราการ

โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์

  • 1.พญ.รัชนี จึงเจริญสุขยิ่ง
  • 2.พญ.ชลทิพย์ กรัยวิเชียร
  • 3.พญ.รินสุข องอาจสกุลมั่น
  • 4.พญ.วิรัลพัชร รัตนเสถียร
  • 5.พญ.วรามิศร์ โอสถานนท์
  • 6.นพ.ณัฐวัตร งามสมุทร
  • 7.พญ.อนัญญา สินรัชตะนันท์
  • 8.พญ.เพ็ญแข ลิ่มศิลา เกษียณ
  • 9.พญ.วริษา นิสากนิษฐ์
  • 10.พญ.ปรารถนา ชิตพงศ์

จังหวัดอ่างทอง

โรงพยาบาลอ่างทอง

  • 1.พญ.ยศพิมล จรัสวิมล

 

จังหวัดสระบุรี

โรงพยาบาลสระบุรี

  • 1.พญ.สิริประภา พจนะแก้ว

 

จังหวัดราชบุรี

โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี

  • 1.พญ.บุษยนาฏ เรืองรอง
  • 2.นพ.สมชาติ สุทธิกาญจน์ <ทุกวันพฤหัส (8.30 – 16.00 น.)>

 

จังหวัดฉะเชิงเทรา

โรงพยาบาลฉะเชิงเทรา

  • 1.นพ.ภาสกร ลีนิวา

 

ภาคตะวันออก

จังหวัดชลบุรี

โรงพยาบาลชลบุรี

  • 1.นพ.อนุพงศ์ สุธรรมนิรันดร์
  • 2.พญ.ณัฎฐินี ชินะจิตพันธุ์

 

โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์

  • 1.นพ.กิตติศักดิ์ สายนุช

 

โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา

  • 1.นพ.ณัฐพล พิพัฒฐาดร

 

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

  • 1. พญ.พนิษา กันตจินดา

 

จังหวัดระยอง

โรงพยาบาลระยอง

  • 1.นพ.พีรพล ภัทรนุธาพร

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดขอนแก่น

โรงพยาบาลศรีนครินทร์

  • 1.พญ.นิรมล พัจนสุนทร
  • 2.พญ. กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสม

 

โรงพยาบาลขอนแก่น

  • 1.พญ.วัลลภา บุญพรหมมา

 

สถาบันพัฒนาการเด็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(เลยผ่านรพ.จิตเวชขอนแก่นไปทางบ้านโนนทันประมาณ4กม.)

  • 1.พญ.ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์
  • 2.นพ.ชาญณรงค์ ชัยอุดมสม

 

จังหวัดนครราชสีมา

โรงพยาบาลมหาราช

  • 1.นพ.มนตรี เวียงเพิ่ม
  • 2.พญ.รุ่งรัตน์ ดอกไม้วัฒนา

 

โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์

  • 1. พญ.ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์ (ลาศึกษาต่อ)

 

จังหวัดบุรีรัมย์

โรงพยาบาลบุรีรัมย์

  • 1.พญ.วันรวี พิมพ์รัตน์

 

จังหวัดอุบลราชธานี

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

  • 1.พญ.นันทิยา จีระทรัพย์
  • 2.พญ.วิรีย์อร จูมพระบุตร

 

โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

  • 1.พญ.พึงเนตร สฤษดิ์นิรันดร์

 

จังหวัดอุดรธานี

โรงพยาบาลอุดรธานี

  • 1.นพ.พงศกร เอื้อชวาลวงศ์

 

จังหวัดนครพนม

โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์

  • 1. พญ. ปวีณา แพพาณิช

 

ภาคใต้

 

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โรงพยาบาลหัวหิน

  • 1.พญ.พัชราภรณ์ มาลีเวช
  • 2.นพ.สมชาติ สุทธิกาญจน์ (ตรวจทุกวันศุกร์ที่ 1และ3ของเดือน)

 

จังหวัดชุมพร

โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

  • 1.พญ.ณัฐกานต์ วิฑูรย์

 

จังหวัดกระบี่

โรงพยาบาลกระบี่

  • 1.พญ.มณฑิรา พรศาลนุวัฒน์

 

จังหวัดภูเก็ต

โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

  • 1. นพ.ประเวศ ปรีดาชัยกุล

 

:: สงขลา ::

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (รพ.มอ.)

  • 1.นพ.ชาญวิทย์ เงินศรีตระกูล
  • 2.พญ.จตุรพร แสงกูล

 

โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ (รพ.ประสาทสงขลาเดิม)

  • 1.นพ.ชูเกียรติ ยงพิทยาพงศ์

 

โรงพยาบาลสงขลา

  • 1.พญ.ปิยณัฐ สุวรรณโณ

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ อ.พุนพิน

  • 1.พญ.ปาฏิโมกข์ พรหมช่วย

 

โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

  • 1.พญ.ธัญลักษณ์ วั่นเลี่ยง

 

จังหวัดตรัง

โรงพยาบาลตรัง

  • 1.พญ.ดลฤดี เพชรสุวรรณ

 

จังหวัดนครศรีธรรมราช

โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

  • 1.นพ.ทฎะวัฎร์ พิลักภควัต

โรงพยาบาลทุ่งสง

  • 1. พญ.ปิยะนุช ศรีนวลเอียด

 

ภาคเหนือ

จังหวัดเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • 1.พญ.อรวรรณ เลาห์เรณู
  • 2.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์
  • 3.นพ.อัศวิน นาคพงศ์พันธุ์

 

โรงพยาบาลสวนปรุง

  • 1.นพ.จักริน ปิงคลาศัย
  • 2.พญ.จรรยพร เจียมเจริญกุล

 

โรงพยาบาลนครพิงค์

  • 1.พญ.บุฑบท พฤกษาพนาชาติ

โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

  • 1.พญ.พรพิมล นาคพงศ์พันธุ์

 

จังหวัดพิษณุโลก

โรงพยาบาลพุทธชินราช

  • 1.นพ.นิธิพัฒน์ บุษบารติ
  • 2.พญ.พรรณเพชร ลิขิตเกียรติขจร

 

โรงพยาบาลนเรศวร

  • 1.พญ.จันทร์เพ็ญ ขวัญศิริกุล
  • 2.พญ.ตติมา กล่อมจันทร์

 

โรงพยาบาลพิษณุเวช

  • 1.นพ ชลภัฏ จาตุรงคกุล

 

จังหวัดพิจิตร

  • -พญ.กษมา เทพรักษ์

 

จังหวัดลำปาง

โรงพยาบาลลำปาง

  • 1.พญ.เกษศิริ เหลี่ยมวานิช
  • 2.พญ.วชิราภรณ์ อรุโณทอง

 

จังหวัดสุโขทัย

โรงพยาบาลสุโขทัย

  • 1.นพ.อนุพงศ์ คำมา

 

จังหวัดเชียงราย

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

  • 1.พญ.พัชนีวรรณ อินต๊ะ

 

จังหวัดลำพูน

โรงพยาบาลลำพูน

  • 1.พญ.กอร์ปบุญ ภาวะกุล

 

จังหวัดอุตรดิตถ์

– รพ.อุตรดิตถ์

  • 1.พญ.แพรว ไตลังคะ
  • 2.พญ.ชุลีกร สิทธิสันติ์

 

จังหวัดนครสวรรค์

โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

  • 1.พญ.ธีราพร ศุภผล

 

จังหวัดแพร่

โรงพยาบาลแพร่

  • 1.พญ.ชุตินาถ ศักรินทร์กุล

 

จังหวัดน่าน

โรงพยาบาลน่าน

  • 1.พญ.พงษ์สุดา ป้องสีดา

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. รายชื่อจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น, ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย
  2. จิตแพทย์, Wikipedia

หมายเหตุ

  1. ข้อมูลอัพเดทล่าสุดวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558