บรรเทาอาการ กรดไหลย้อน ด้วยสมุนไพร

1. อาการที่บ่งบอกว่าเป็นไหลย้อน

แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก แน่นท้อง ท้องอืด เรอเปรี้ยว เจ็บคอ เสียงแหบ ไอเรื้อรัง หรือบางครั้งอาจมี น้ำย่อยรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนมาทางปาก อาการเหล่านี้อาจเป็นตัวบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น บริเวณกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ที่เรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (gastro esophageal reflux disease : GERD) (กรดไหลย้อน, ธีรพัฒน์  เวชชประสิทธิ์, 2550)

 

2. กรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

สาเหตุการเกิดโรคกรดไหลย้อน

 

  ภาวะของโรคกรดไหลย้อน เกิดขึ้นเนื่องจาก น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมายังบริเวณ หลอดอาหาร ซึ่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารมีสภาพความเป็นกรดสูง เพราะประกอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกซึ่ง ทำหน้าที่กำจัดจุลินทรีย์ที่ผ่านเข้ามาพร้อมกับอาหาร รวมทั้งเอนไซม์เพปซินซึ่งทำหน้าที่ย่อยสารชีวโมเลกุล ประเภทโปรตีน เมื่อน้ำย่อยไหลย้อนกลับเข้าที่หลอดอาหารกรดและเพปซินจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของ หลอดอาหารทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบหรือกลายเป็นแผลในหลอดอาหารขึ้นได้ และถ้าน้ำย่อยสามารถ ไหลย้อนผ่านขึ้นมาสู่หลอดอาหารส่วนบนก็อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เนื้อเยื่อบริเวณลำคอ จนเป็นสาเหตุ ให้เกิดอาการเจ็บคอและไอเรื้อรัง

             โดยปกติแล้วร่างกายจะมีกลไกป้องกันการเกิดภาวะกรดไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหาร เช่น กลไกการบีบตัวของหลอดอาหาร ลักษณะทางกายภาพของหลอดอาหาร ซึ่งมีเยื่อบุผิวป้องกันไม่ให้หลอดอาหาร ถูกทำลายด้วยกรด และมีอวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันของเหลวจากกระเพาะอาหารไม่ให้ไหลย้อน กลับมานั่นคือ กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร ซึ่งที่อยู่ 2 ที่ด้วยกัน คือ กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนบนของ หลอดอาหาร และกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนล่างของหลอดอาหารที่ติดกับกระเพาะอาหาร  ซึ่งเชื่อกันว่าการ คลายตัวอย่างผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร โดยเฉพาะส่วนที่ติดอยู่กับกระเพาะอาหารนี่เอง ที่น่าจะเป็นสาเหตุหลักของอาการกรดไหลย้อนกลับ

อย่างไรก็ตามการไหลย้อนกลับของกรดนั้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน เช่น ความดัน ภายในหลอดอาหารต่ำกว่าปกติ ความดันในช่องท้องสูงกว่าปกติ บางส่วนของกระเพาะอาหารเลื่อนเข้าไปอยู่ ภายในหลอดอาหาร เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรืออาจเกี่ยวกับพันธุกรรมได้ (กรดไหลย้อน, ธีรพัฒน์  เวชชประสิทธิ์, 2550)

 

3. การรักษากรดไหลย้อน

 

การรักษากรดไหลย้อน
การรักษากรดไหลย้อน

 

การรักษาให้หายจากอาการกรดไหลย้อนกลับ ทำได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ 

1. การปรับเปลี่ยนนิสัยที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือการดูแลสุขภาพของร่างกายด้วยตนเอง เช่น รับประทานอาหารแค่พอดีอิ่ม ไม่มากเกินไป ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนจนเกินไปและหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า ที่รัดแน่น เพราะความอ้วนและการสวมเสื้อผ้ารัดๆ เป็นสาเหตุให้ความดันมนช่องท้องสูงกว่าปกติ หลีกเลี่ยง สาเหตุของการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น จากการสูบบุหรี่หรือความเครียด ไม่ควรนอนยกของหนัก ก้มตัวเก็บของหรือออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารทันที นอกจากนี้เวลานอนอาจปรับหัวเตียงสูงขึ้น เล็กน้อยประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อลดความดันภายในช่องท้อง

2. การรับประทานยาและการผ่าตัด ในรายที่อาการมากอาจต้องใช้ยาเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร โดยต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เนื่องจากตัวยาบางชนิดอาจทำให้ปริมาณ กรดในกระเพาอาหารเพิ่มมากขึ้นได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากต้แงได้รับการผ่าตัด
โรคกรดไหลย้อนอาจดูเหมือนเป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ถ้าเกิดการอักเสบที่อวัยวะในระบบทางเดินอาหาร จนเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งในหลอดอาหารตามมาได้

 

4. สมุนไพรบรรเทาอาการกรดไหลย้อน

 

4.1 การใช้สมุนไพรรักษาอาการกรดไหลย้อน

พูดคุยกับแพทย์ก่อน. มีการใช้สมุนไพรในหลายๆ วิธีในการรักษาโรคกรดไหลย้อน แต่คุณจะต้องระมัดระวังด้วย ให้พูดคุยกับแพทย์ก่อนที่จะลองใช้วิธีเหล่านี้ โดยทั่วไปแล้ว การรักษาด้วยวิธีธรรมชาตินั้นจะปลอดภัยแต่ทางที่ดีที่สุดก็คือคุณจะต้องแน่ใจว่ามันจะปลอดภัยเมื่อคุณใช้ ลองใช้การรักษาด้วยสมุนไพรควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อทำให้อาการกรดไหลย้อนดียิ่งขึ้น

  • ถ้าคุณเป็นหญิงมีครรภ์ ให้พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่มีอันตรายต่อทารก

(th.wikihow.com/รักษาอาการกรดไหลย้อนด้วยวิธีธรรมชาติ)

 

4.2 สมุนไพรบรรเทาอาการกรดไหลย้อน

4.2.1 ยอ หรือ ลูกยอ

ลูกยอ รักษากรดไหลย้อน
ลูกยอ รักษากรดไหลย้อน

 

การศึกษาวิจัยพบว่า “ยอ” ซึ่งมีสารสำคัญ คือ สโคโปเลติน (scopoletin) เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยนั้น สามารถลดการอักเสบของหลอดอาหารจากการไหลย้อนของกรดได้ผลดี พอๆ กับยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษากรดไหลย้อน คือ รานิติดีน (ranitidine) และแลนโสพราโซล (lansoprazole) เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการหลั่งของกรด ต้านการเกิดแผล และทำให้การบีบตัวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น โดยมีผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวข้องโดยตรง และยังมีรายงานว่าสามารถเพิ่มการดูดซึมของรานิติดีน “ยอ” จึงเหมาะในการเป็นสมุนไพรสำหรับรักษาอาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งจากการศึกษาวิจัยข้างต้น และการที่ “ยอ” มีรสร้อน ช่วยย่อยอาหาร ทำให้อาหารไม่ตกค้าง ไม่เกิดลมในกระเพาะอาหาร ลดการเกิดแรงดันที่ทำให้กรดไหลย้อน “ยอ” ยังช่วยให้กระเพาะบีบเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น ทำให้อาหารเคลื่อนจากกระเพาะไปสู่ลำไส้เล็กได้ดีขึ้น (สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน, เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์, 2560)

 

4.2.2 ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน รักษากรดไหลย้อน
ขมิ้นชัน รักษากรดไหลย้อน

 

ขมิ้นชันมีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องอืด และช่วยขับน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ทำให้อาหารไม่ตกค้างในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กนานเกินไป ทั้งช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย มีผู้แนะนำให้กินขมิ้นชันก่อนอาหาร 1-2 ชั่วโมง เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ขนาดรับประทานคือ ครั้งละ 1 ช้อนชาสำหรับแบบผง หรือ 3 เม็ดๆ ละ 500 มก. (สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน, เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์, 2560)

 

4.2.3 กล้วยน้ำว้า 

กล้วยน้ำว้า รักษากรดไหลย้อน
กล้วยน้ำว้า รักษากรดไหลย้อน

 

ด้วยภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย “กล้วยดิบ” ถูกนำมาใช้รักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารมานานแล้ว และในปัจจุบันยังมีการค้นพบว่า ในกล้วยดิบมีสารสำคัญที่ให้รสฝาดและช่วยสมานแผลชื่อ “แทนนิน” ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยป้องกันผนังกระเพาะอาหารไม่ให้เชื้อโรคต่างๆ และรสที่เผ็ดร้อนเกินไปทำอันตรายกับผนังกระเพาะอาหารของเราได

สารสำคัญอีกอย่างหนึ่งในกล้วยทุกชนิดคือ “เซโรโทนิน” ช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือกตามธรรมชาติออกมาเคลือบแผล แต่จะไม่กระทบกับการหลั่งน้ำย่อย ซึ่งจะช่วยลดการระคายเคืองและอาการแสบร้อนท้องโดยที่ไม่ทำให้การย่อยลดประสิทธิภาพลง ในขณะที่ยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร โดยมากออกฤทธิ์เพียงเคลือบป้องกันแผล แต่กล้วยมีฤทธิ์ทั้งป้องกันและสมานแผลในกระเพาะอาหารควบคู่ไปด้วย

“กล้วย จึงเป็นยาสมานแผลกระเพาะอาหารที่มีคุณภาพดีและราคาถูก” (กระเพาะเป็นแผล แก้ด้วยกล้วยดิบ)

 


ข้อมูลอ้างอิง

กรดไหลย้อน, ธีรพัฒน์  เวชชประสิทธิ์

สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน, เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์

ธัญญารัตน์ อัญญาวิจิตร. (2555). คู่มือสุขภาพ รู้ก่อนสาย ไม่เจ็บไม่ตาย! ต้าน 13 โรคฮิต หลีกห่าง
ให้เร็ว (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : นานาสำนักพิมพ์.
“สมุนไพรรักษากรดไหลย้อน”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content /40675-สมุนไพรรักษากรดไหย้อน.html. (วันที่สืบค้น: 3 พฤษภาคม 2561).

“กระเพาะเป็นแผล แก้ด้วย…กล้วยดิบ” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก:http://thearokaya.co.th/web/?p=6502 (วันที่สืบค้น: 18 กุมภาพันธ์ 2562).